ช้าพลู

รูปช้าพลู

ช้าพลู


ช้าพลู
ชื่อสมุนไพรไทยอื่นๆเช่น นมวา,ผักปูนา,ผักพลูน,พลูลิง,เยเท้ย,ผักอีเลิด
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรไทย Piper rostratum Roxb. วงศ์ PIPERACEAE.
เป็นสมุนไพรไทยไม้ล้มลุก มีไหลงอกเป็นต้นใหม่
ใบสมุนไพรไทยนี้ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปหัวใจ
ดอกสมุนไพรไทยนี้ เป็นดอกช่อ ออกที่ซอกใบเป็นรูปทรงกระบอก ดอกย่อยแยกเพศ
ผลสมุนไพรไทยนี้ เป็นผลสดสีเขียวเป็นกลุ่ม ลักษณะกลม ผิวมัน อัดกันแน่นอยู่บนแกน
รูปผลช้าพลู

ผลช้าพลู


สรรพคุณสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ
รากสมุนไพรไทยนี้ แก้ธาตุพิการ แก้เบาเหลือง ขัดเบาปวดเจ็บ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้เสมหะ แก้คูถเสมหะ(ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก) แก้เมื่อขบ แก้ลม แก้อาโปธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้อุระเสมหะ แก้ปัสสาวะรดที่นอน แก้สะอึก
ต้นสมุนไพรไทยนี้ ขับผายลม แก้ลมจุกแน่นท้อง แก้เสมหะในทรวงอก แก้เสมหะในอุจจาระ แก้ปัสสาวะรดที่นอน
ใบสมุนไพรไทยนี้ ทำให้เสมหะงวดและแห้ง แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ปัสสาวะรดที่นอน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด
ดอกสมุนไพรไทยนี้ แก้เสมหะในลำคอ ขับลมในลำไส้ แก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดเมื่อย
ผลสมุนไพรไทยนี้ ขับลม แก้เสมหะในลำคอ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ
ทั้งต้นสมุนไพรไทยนี้ แก้ปวดท้อง แก้โรคปัสสาวะบ่อยๆ
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้อุระเสมหะ แก้ไข้ดีซ่าน ดีกระตุก บำรุงน้ำดี แก้ลมขึ้นตามเส้นเป็นริ้วๆ กระทำให้อกสว่าง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดน้ำตาลในเลือด ปริมาณโปรตีนสูง ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก เพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนกลาง

รูปสโตก้า

Comments are closed.