กวาวต้น

สมุนไพรไทยกับสุขภาพ โดย…บ้านคุณหมอ

รูปกวาวต้น

กวาวต้น

กวาวต้น
ชื่ออื่นๆเช่น กวาว,ก๋าว,จอมทอง,จ้า,จาน,ทอง,ทองกวาวทองต้น,ทองธรรมชาติ,ทองพรมชาติ,ต้นจาน,Flame of the forest,Bastard Teak
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma(Lam.) Taub. วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPLIODEAE
เป็นสมุนไพรไทยไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ลำต้นมักจะคดงอและแตกกิ่งต่ำ เปลือกต้นสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆมีน้ำยางใสๆ ถ้าทิ้งไว้สักครู่เปลี่ยนเป็นยางเหนียวสีแดงเรื่อๆเรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กึ่งลักษณะคดงอ มีขนสีน้ำตาลแก่ใบเป็นช่อ เรียงเวียนสลับรวมกันเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ก้านช่อยาว ก้านใบย่อยสั้น
ใบ มีรูปต่างๆ รูปป้อมๆ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และรูปไต
ดอก โตสีแสด หรือเหลือง เป็นช่อเล็กบ้างใหญ่บ้าง ตามกิ่งเหนือ
รูปหัวกวาวต้น

หัวกวาวต้น

รอยแผลใบและตามปลายกิ่ง ตามส่วนต่างๆ ของช่อดอกมีขนสีน้ำตาลคล้ำทั่วไป กลีบดอกมีรูปต่างๆกัน 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 10 อัน 1 อันเป็นอิสระ 9 อันมีโคนก้านอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้
ผล เป็นฝักแบนๆ ภายในมีเมล็ดแบนๆ 1 เมล็ด
สรรพคุณ
ราก แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้เสมหะ แก้ลมเป็นพิษ แก้โรคดี แก้โรคเส้นประสาท เป็นยาธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ บำรุงเส้นประสาท
หัว เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงเนื้อให้เจริญ ทำให้เลือดคั่งเต่งที่มดลูก บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ
ต้น เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเนื้อให้งอกงามเต่งตึง
เปลือกต้น แก้ลมวิงเวียน แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ
ยางต้น แก้ท้องร่วง
ใบ แก้พิษ แก้ปวด แก้สิว ถอนพิษ แก้ท้องขึ้น แก้ริดสีดวง ขับพยาธิ
ดอก ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้โรคตา ถอนไข้พิษ
ฝัก ขับพยาธิในท้อง
เมล็ด ขับไส้เดือน แก้ผิวหนังอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ท้องมาน มานน้ำ
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ลมอัมพาต
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ต้านความเป็นพิษต่ตับ ต้านการอักเสบ ต้านเอสโตรเจน ฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน ต้านการปฏิสนธิ ยับยั้งการฝังต้นอ่อนที่มดลูก กระตุ้นมดลูก เป็นพิษต่อตัวอ่อน ทำให้แท้ง ยับยั้งการสร้างสเปิร์ม กระตุ้นการหลั่ง gonadotropin เสริมฤทธิ์บาร์บิทูเรต
ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ขับพยาธิ ต้านยุงก้นปล่อง ทำให้เม็ดเลือดแดงจับกลุ่ม ลดความดันโลหิต เป็นพิษต่อไต คลายกล้ามเนื้อลำไส้ ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้หดตัว ปรับระบบภูมิคุ้มกัน รบกวนการกินอาหารของแมลง ดึงดูดแมลง เป็นพิษต่อปลา

รูปยาบรรเทาริดสีดวงทวาร เอส พี